วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ที่นำมาประกอบกันแล้ว
จะได้คอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์ 1 เครื่อง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่
สำคัญหลายส่วน ดังนี้

                    - กล่องซีพียู
                    - แป้นพิมพ์
                    - เมาส์
                    - จอภาพ
                    - ลำโพง
   ระบบคอมพิวเตอร์ คือ องค์ประกอบที่จะทำให้คอมพิวเตอร์
สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
      ระบบของคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ
4 ประการ คือ

                    - ฮาร์ดแวร์
                    - ซอฟต์แวร์
                    - พีเพิลแวร์ หรือบุคลากร
                    - ข้อมูล
ประเภทของคอมพิวเตอร์
                    - แบ่งตามขนาด
      แบ่งตามขนาด หมายถึงการแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ ตาม
ความสามารถในการทำงานหรือประมวลผลของเครื่อง
                    - แบ่งตามลักษณะข้อมูลที่ใช้
      แบ่งตามลักษณะข้อมูลที่ใช้ หมายถึงการแบ่งประเภทของ
คอมพิวเตอร์ตามลักษณะข้อมูลที่รับเข้าสู่ระบบการประมวลผลของ
คอมพิวเตอร์
                    - แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้
      แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ หมายถึงการแบ่งประเภทของ
คอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ที่สร้างขึ้นมา และการนำไปประยุกต์
ใช้งาน

ฮาร์ดแวร์ คือ อุปกรณ์และชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่มีวงจรไฟฟ้าอยู่ภายในเป็นส่วนใหญ่ และสามารถจับต้องได้ ได้แก
                    - ซีพียู
                    - เมาส์
                    - คีย์บอร์ด
                    - เครื่องพิมพ์
                    - แผงเมนบอร์ด
                    - ฮาร์ดดิสก์

ซอฟต์แวร์ คือ โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์
ทำงาน
                    - ซอฟต์แวร์ระบบ
                ซอฟต์แวร์ระบบคือ โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมระบบ
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
                    - ซอฟต์แวร์ประยุกต์
                ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้งาน
เฉพาะด้าน




วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของจริยธรรม

 1) ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามข้อตกลงของสังคม อันได้แก่ กฎหมาย จารีต ประเพณี
     2) สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใด ในสังคมก็ตามจะต้องมีแบบแผน มุ่งเน้นหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
     3) อิสระเสรี (Autonomy) การมีอิสระเสรีนั้นสังเกตได้จากการที่บุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตน

ประเภทของจริยธรรม

จริยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
     1) จริยธรรมภายนอก เป็นจริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เป็นที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความมีวินัย การตรงต่อเวลาเป็นต้น
     2) จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลิตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ควงาใมซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น

โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม

คุณลักษณะของจริยธรรมเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของจริยธรรมเพื่อให้เห็นเด่นชัดในด้านหนึ่งและมีความแตกต่างจากจริยธรรมด้านอื่น ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการศึกษาหลายหน่วยงาน ได้กำหนดโครงสร้างจริยธรรม พร้อมทั้งกำหนดคุณลักษณะของจริยธรรม ไว้ดั้งนี้
     1) ความรับผิดชอบ หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่อย่างตั้งใจ มีความละเอียดรอบคอบ มีความพากเพียรพยายามเพื่อให้งานหรือภาระที่รับผิดชอบอยู่บรรลุผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย
     2) ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมา ตรงต่อความเป็นจริง  ทั้งการ วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น
     3) ความมีเหตุผล หมายถึง การรู้จักใช้สติปัญญา ไตร่ตรอง คิดใคร่ครวญ หรือพิสูจน์ สิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประจักษ์ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความยึดมั่นในความคิดของตนเอง
     4) ความกตัญญูกตเวที หมายถึง ความรู้สึกสำนึกในบุญคุณของบุคคลผู้มีอุปการะคุณ หรือ สิ่งอันมีคุณต่อมนุษย์เรา และแสดงออกถึงความสำนึกในบุญคุณนั้นด้วยการตอบแทนคุณ อาจกระทำด้วยสิ่งของหรือการกระทำอย่างนอบน้อม
     5) ความอุตสาหะ หมายถึง ความพยายามอย่างยิ่งยวด เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการงานหรือกิจกรรมที่ทำด้วยขยันขันแข็งกระตือรือร้น อดทน ถึงแม้จะประสบปัญหาหรืออุปสรรคขัดขวางก็ไม่ยอมแพ้และไม่ย่อท้อ
     6) ความสามัคคี หมายถึง ความพร้อมเพียงเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน การให้ความร่วมมือในการกระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งมีความรักในหมู่คณะของตน
     7) ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การควบคุมความประพฤติของตนเองให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับจรรยามารยาททางสังคม กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ กฏหมายและศลีธรรม
      8) ความเสียสละ หมายถึง การลดละความเห็นแก่ตัว การแบ่งปันแก่คนที่ควรให้ด้วยทรัพย์สิน กำลังกาย และกำลังปัญญาของตนเอง
     9) ความประหยัด หมายถึง การใช้สิ่งของหรือใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอเหมาะพอควร เพื่อให้เกิดประโยชนสูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้มเฟือยจนเกิดฐานะของตน
     10) ความยุติธรรม หมายถึง การปฏิบัติตนด้วยความเที่ยงตรง การพิจารณาเรื่องราวต่างๆ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่มีความลำเอียงหรือเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
     11) ความเมตตากรุณา หมายถึง ความรักใคร่ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข และมีความสงสารอยากจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุข์

ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา

 
จริยธรรมนำชีวิต การใช้จริยธรรมนำชีวิต ต้องเริ่มจากการปริยัติคือศึกษาทฤษฎีให้เข้าใจแล้วจึงนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการเพื่อผลในขั้นสุดท้ายอันเป็นผลที่น่ายินดีที่เรียกว่า เป็นคนมีจริยธรรม หรือปฏิเวธได้ในที่สุด
การปริยัติเพื่อการปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมควรเริ่มต้นจาก มรรยาทชาวพุทธ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ตนมีจริยธรรมทางกาย ต่อไปก็ต้องทำใจให้บริสุทธ์สะอาดเพื่อการมีจริยธรรมทางใจ โดยการปริยัติ สมถะ วิปัสสนา มงคลชีวิต หลักพุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม
เมื่อรู้ทฤษฎีในการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางกายและใจแล้วควรได้ทราบว่าจะนำทฤษฎีไปพัฒนาตนอย่างไร โดยศึกษาจากเรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก่อนลงมือปฏิบัติตามอาจเกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นว่า เมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ผลจริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องศึกษาแบบอย่างที่ดี ในเรื่องประวัติและคุณธรรมของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
ประวัติและคุณธรรมดังกล่าวมีมาแต่พุทธกาล ความลังเลสงสัยอาจจะยังคงมีอยู่ว่าในปัจจุบันพระดีๆเป็นแบบอย่างได้ ยังมีอยู่จริงหรือ ก็ให้ศึกษาได้จาก บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม

ถ้าได้ศึกษาไปครบทั้ง 8 เรื่องแล้ว ยังลังเลว่าเรื่องเหล่านี้นำมาจากที่ใด ใครเป็นผู้สอน ให้ศึกษาจาก
พระไตรปิฎก ภาษาบาลี คำศัพท์ในพระพุทธศาสนา และพุทธศาสนสุภาษิต พุทธประวัติและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อปริยัติครบทั้ง 11 เรื่อง มีความเข้าใจ มีจินตมยปัญญา สามารถนำไปปฏิบัติได้ ท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่ถูกเรียกว่าชาวพุทธ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของพระพุทธศาสนา จึงต้องศึกษา หน้าที่ชาวพุทธ ศาสนพิธีและการปกครองคณะสงฆ์ไทย
หลังจากที่ได้มีการปริยัติ และ ปฏิบัติ มรรยาทฃาวพุทธ สมถะ วิปัสสนา มงคลชีวิต หลักพุทธธรรม ฯ หน้าที่ชาวพุทธ จนสุดท้ายศาสนพิธี จริยธรรมก็จะนำชีวิตไปสู่แสงสว่างแห่งความดี เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายของการพัฒนาคนตามที่สังคมต้องการ และจะให้สว่างยิ่งขึ้นก็ควรได้ศึกษา คู่มือมนุษย์ ธรรมะจากหลวงตาบัว ธรรมะจากพระอาจารย์ทูล จารึกไว้ในพระศาสนา รวมทั้งศึกษาหาแบบอย่างดีๆในปัจจุบันได้จาก ข่าวเยาวชน ปิดท้ายด้วยนิทานสนุกๆ เรื่อง มิลินทปัญหา และ ทศชาติชาดก

เว็ปไซด์ Moralism จึงเป็นเว็ปไซด์ที่จะนำชีวิตไปสู่ความดีงาม ทั้ง กาย วาจา และ ใจ เป็นผู้มีจริยธรรมในที่สุด รวมทั้งเป็นเว็ปไซด์ที่สามารถสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 ที่กำหนดให้มีการศึกษาตามอัธยาศัย คือการศึกษาด้วยตนเอง ตามความต้องการ ตามความสนใจ ตลอดเวลา และตลอดชีวิตเว็ปไซด์นี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการศึกษาตามอัธยาสัย
คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป

ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ

จริยธรรมทางธุรกิจ : การพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของมนุษย์ในสังคม 
 
          การบริหารธุรกิจอย่างมีจริยธรรมมีองค์ประกอบหรือเกณฑ์ชี้วัดอย่างไรเป็นประเด็นที่ต้องสร้างให้ชัดเจนและเป็นหลักสากลให้เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป ผู้บริหารกับจริยธรรมทางธุรกิจเป็นเรื่องของการเตือนสติในการประกอบอาชีพของตนว่า สิ่งใดพึงกระทำสิ่งใดพึงละเว้น แม้ข้อกำหนดทางจริยธรรมจะเป็นปกติวิสัยที่องค์การทั่วไปต้องสร้าง

          ความตื่นตัวในเรื่องจริยธรรมทางธุรกิจของประเทศไทยเป็นไปค่อนข้างช้า จนเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2540 ธุรกิจต่างล้มเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นเพราะการบริหารงานที่ขาดจริยธรรมและความโปร่งใส จากนั้นจึงได้มีการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ไม่เพียงเพราะต้องการกลไกที่จะป้องกันธุรกิจหรือองค์การที่ปราศจากความรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชน แต่ยังเป็นการจัดระบบการบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขของการประกอบการที่ดีของประเทศทางตะวันตกที่ประเทศไทยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยตามกระแสของโลกาภิวัตน์

          องค์การธุรกิจในยุคใหม่ต้องบริหารงานโดยคำนึงถึงจริยธรรม รับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อพนักงานด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม และรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นยังต้องดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใสพร้อมจะให้สาธารณชนตรวจสอบเสมอ

          จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องจริยธรรมจะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใด ๆ 
 
          ในปัจจุบันมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของ “จริยธรรม” กันมากขึ้น เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ได้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความบกพร่อง และความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมหรือจริยธรรมของผู้คนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว วัฒนธรรมตะวันตกซึ่งเน้นการสร้างสรรค์ทางวัตถุ และการแสวงหาความสุขสบายให้แก่ชีวิตด้วย การพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องอำนวยความสะดวก และรูปแบบของความบันเทิงในลักษณะต่าง ๆ ได้แพร่กระจายเข้าสู่สังคมเมืองของไทยอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว อิทธิพลของการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นสิ่งจูงใจให้ผู้คนในชนบทหลั่งไหลกันอพยพเข้าสู่เมืองหลวงอย่างมากมายและต่อเนื่อง จิตใจของผู้คนที่ยึดเอาประโยชน์ของตนเป็นหลักไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่น การช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนไทยลดน้อยลงไปทุกทีและจะเพิ่มพูนปัญหาให้แก่สังคมมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ความหมายของจริยธรรม

          จริยธรรม (ethics) สามารถใช้คำไทยได้หลายคำนอกเหนือจากคำว่าจริยธรรม เช่น หลักจรรยา หรือ จรรยาบรรณ หรือ ธรรมะ หรือ คุณธรรม ซึ่งมีความหมายว่า ข้อพึงปฏิบัติ

          ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525  คำว่า ธรรม หมายถึงความดี ส่วนคำว่า จริย หมายถึง ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ ดังนั้นความหมายของ จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ

มีนักปราชญ์ของวงการศึกษาไทยหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่าจริยธรรม (วริยา ชินวรรณโณ 2541) ไว้ดังนี้

          พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายว่า จริยธรรม ตามหลักพุทธศาสนา คือ มรรค หรือมัชฌิมาปฏิปทา  พรหมจารีหรือผู้ประพฤติธรรม หรือ ผู้มีจริยธรรม ตามหลักพุทธศาสนา คือ ผู้ดำเนินชีวิตตามมรรค หรือปฏิบัติตาม มัชฌิมาปฏิปทา (หลักการครองชีวิตที่ถูกต้องสมบูรณ์ของมนุษย์ที่จะนำไปสู่จุดหมาย คือ ความดับทุกข์)

          กระมล ทองธรรมชาติ อธิบายว่า จริยธรรม หมายถึง ธรรม หรือหลักความประพฤติที่ควรแก่การยึดถือและปฏิบัติตาม ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบายว่า จริยธรรม คือ ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามเหมาะสม

          ความคิดในเชิงจริยธรรมมีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ นักปราชญ์ในยุคโบราณหลายต่อหลายท่านต่างกล่าวถึงและพยายามสั่งสอนให้ผู้คนประพฤติปฏิบัติกันในแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรม กระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองและสังคม จนถึงปัจจุบันแนวความคิดในเรื่องจริยธรรมได้พัฒนามาเป็นลำดับ มีผู้กล่าวถึง "จริยธรรม" ในความหมายที่แตกต่าง ๆ กันหลายลักษณะ เช่น

          ดวงเดือน พันธุมนาวิน กล่าวว่า จริยธรรม เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวาง หมายถึงลักษณะทางสังคมหลายลักษณะของมนุษย์ ลักษณะและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมจะมีคุณสมบัติประเภทใดประเภทหนึ่ง ใน 2 ประเภท คือ

          1. เป็นลักษณะที่สังคมต้องการให้มีอยู่ในสมาชิกของสังคมนั้น เป็นพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบให้การสนับสนุน และผู้กระทำส่วนมากเกิดความพอใจว่า กระทำนั้นเป็นสิ่งถูกต้องเหมาะสม
          2. เป็นลักษณะที่สังคมไม่ต้องการให้มีอยู่ในสมาชิกของสังคม เป็นการกระทำที่สังคมลงโทษ หรือ พยายามกำจัด และผู้กระทำพฤติกรรมนั้นส่วนมารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่สมความ ฉะนั้นผู้ที่มีจริยธรรมสูงคือผู้ที่มีลักษณะและพฤติกรรมประเภทแรกมากและประภทหลังน้อย ลักษณะของมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมแบ่งออกได้เป็น ความรู้เชิงจริยธรรม ทัศนคติเชิงจริยธรรม เหตุผลเชิงจริยธรรมและพฤติกรรมเชิงจริยธรรม (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2520)

          สุมน  อมรวิวัฒน์ สรุปความหมายของจริยธรรมไว้ว่า จริยธรรม คือ แบบแผนของความประพฤติที่ยึดหลักของศีลธรรม ลักษณะที่แตกต่างระหว่าง “ศีลธรรม” และ “จริยธรรม” ก็คือศีลธรรมเป็นหลักการของคุณงามความดีที่มนุษย์ยึดถือปฏิบัติ อิงหลักศาสนาและมีหลักเป็นสากล ส่วนจริยธรรมนั้นแม้จะมีความหมายบางส่วนคล้ายคลึงกับคำว่าศีลธรรม แต่มักเป็นคำที่ใช้ในสาขาวิชาพฤติกรรมศาสตร์ เน้นลักษณะของความประพฤติที่สังคมนิยมชมชอบว่าถูกต้องเหมาะสม (สุมน อมรวิวัฒน์ 2530)

สำหรับนักคิดในประเทศตะวันตก ก็ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับจริยธรรมและพฤติกรรมทางจริยธรรมไว้ (ชัยพร วิชชาวุธ 2530) ดังนี้

          พีอาเจต์ (Piaget 1960) กล่าวว่า จริยธรรม คือ องค์ประกอบของกฏเกณฑ์ที่บุคคลยอมรับว่าถูกต้องดีงามควรประพฤติปฏิบัติตนเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม

          บราวน์ (Brown 1965) ได้อธิบายว่า จริยธรรมหมายถึงระบบของกฏเกณฑ์ใช้ในการวิเคราะห์ความประพฤติที่ผิดหรือถูกของบุคคล จริยธรรมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนามาจากประสบการณ์ของบุคคล โดยจริยธรรมประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ความรู้ (knowledge) ความประพฤติ (conduct) และ ความรู้สึก (felling)

          โดลเบอร์ (Kohlberg 1969) ให้การอธิบายว่า จริยธรรมเป็นความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเป็นกฎเกณฑ์และมาตรฐานพฤติกรรมในสังคม ซึ่งบุคคลจะพัฒนาขึ้นจนมีจริยธรรมของตนเอง โดยอาศัยกฎเกณฑ์จากสังคมเป็นสิ่งตัดสินว่าการกระทำนั้นถูกหรือผิด

          ฮอฟแมน (Hoffman 1979) ได้จำแนกองค์ประกอบของจริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับที่บราวน์ได้กระทำ กล่าวคือ เขาเชื่อว่า จริยธรรมเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน (internalization) ขององค์ประกอบจริยธรรม 3 ประการ ที่เป็นอิสระจากกัน คือความคิดทางจริยธรรม (moral thought) ความรู้สึกทางจริยธรรม (moral felling) และพฤติกรรมจริยธรรม (moral behavior)

          โดยการประมวลจากความหมายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ขอสรุปนิยาม ความหมายของ “ จริยธรรม ” ไว้คือ จริยธรรม หมายถึง หลักความประพฤติ แนวทาง แบบแผน หรือหลักการที่ว่าด้วยความดีงามซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักการของศาสนา หรือสิ่งที่คนในสังคมยอมรับว่าเป็นความดีความถูกต้อง เป็นต้นว่า หลักของศีล สมาธิ หลักของการยึดประโยชน์ส่วนรวม หรือหลักของการพัฒนาประเทศ ฯลฯ เพื่อความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข การปลูกฝังจริยธรรม จึงเปรียบเสมือนการพัฒนาคุณภาพจิตที่มีอิทธิพลต่อความประพฤติของมนุษย์ในสังคม

ความหมายของจริยธรรม

ความหมายของจริยธรรม

ความหมายของ จริยธรรมจริยธรรม หมายถึง ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นธรรมะทางใจที่ควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติที่ดีที่ชอบที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องของความรู้สึกในการพัฒนาตนเอง ที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยความดีทั้งกายวาจาและใจจริยะหรือ จริยา คือ ความประพฤติ การกระทำ เมื่อสมาสกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ จึงเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชอบธรรม เป็นธรรมชาติจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน ควบคู่กับ วินัย อันเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ สำหรับข้าราชการก็ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
• ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด
• ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี
• ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี
• ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน

ความสำคัญของจริยธรรม จริยธรรม จึงเป็น…เครื่องมือยุทธศาสตร์ของชาติ และ สังคมเครื่องชี้วัดความเจริญความเสื่อมของสังคมหัวใจของการพัฒนาที่ยั่งยืน การพัฒนาที่เหนือกว่าความเจริญทางวัตถุรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข การยอมรับนับถือซึ่งกันและกันของทุกคนและทุกกลุ่มในสังคมรากฐานของความเข้มแข็งของชาติ กองทัพ และกลุ่มอาชีพเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นอำนาจกำลังรบที่ไม่มีตัวตน และเป็นตัวคูณอำนาจกำลังรบ