วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554


ยี่ห้ออินเทล  ซีพียูแต่ละรุ่นของ
Intel 8086 / 8088 (1978-1979)
ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ 8 บิต
Intel 80286 (1982)
ในปี ค.ศ. 1982 อินเทลก็ได้ผลิตซีพียูรุ่น 80286 ที่มีความเร็วเพียงแค่ 6 เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิด ความร้อนสูงในขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งพัดลมและแผ่นระบายความร้อน ( Heat Sink )


Intel 80386SX/80386DX (1985-1990)
ผลิตออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1985 ด้วยความเร็ว 16 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขนาดของบัสข้อมูล 16 บิต แต่มีขีดความสามารถและความเร็วสูงกว่า 80826 มีทรานซิสเตอร์ภายใน 250 , 000 ตัว สถาปัตยกรรมภายในเป็นระบบประมวลผลแบบ 32 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัสเพื่อรับ ส่งข้อมูลจะเป็นแบบ 16 บิต โดย 80386 SX มีความเร็วตั้งแต่ 16 , 50 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์
Intel 80486SX/ 80486 DX (1989-1994)
ซีพียูรุ่น 80486 มีความเร็วตั้งแต่ 20 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานแบบ 32 บิต และมีแคช ภายใน ( Intel Cache ) ทำสามารถทำงานได้เร็วกว่ารุ่น 80386 ที่จำนวนของสัญญาณนาฬิกา เท่ากัน โดยในรุ่น 80486 SX ยังไม่มี Math Coprocess รวมอยู่ในซีพียู ต่อมาทางอินเทลก็ได้ออกเครื่องรุ่น 80486 DX มีความเร็วตั้งแต่ 50 , 66 , 100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นทั้งด้านความเร็วในการคำนวณและ เทคโนโลยีโดยการรวม เอา Math Coprocessor และ แคชมารวมอยู่ในชิปเดียวกันกับซีพียู





INTEL PENTIUM
อินเทลเพนเทียม Intel Pentium (1993-1998)
ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก
PENTIUM II
Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Pro ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า “Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิป

ถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน 3 มิติ
เพนเทียมทูคลาเมธ Pentium II Klamath
คือชิปรุ่นต่อมาซึ่งถูกพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้น Pentium II Klamath เป็นชิปตัวแรก ในตลาด ที่เปลี่ยนจากอินเอตร์เฟซแบบซ็อกเกตมาเป็นสล็อตแทน ซีพียูเพนเทียมทูคลาเมธ มี ความเร็วเริ่มตั้งแต่ 233-300 MHz . ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มีสถาปัตยกรรม แบบ SECC (Single Eade Contact Cartridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นการ์ดที่ใช้กับ Slot 1 มีแคช ระดับสองติดตั้งอยู่บนการ์ดซีพียู ทำงานที่ความเร็วบัส 66 MHz ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 โวลด์
เพนเทียมทูเดสชู๊ตส์ ( Pentium II Deschutes )
ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพียูให้สามารถทำงานได้ที่ความ เร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู
เนื่องจากชิปแคชระดับสองที่ใช้กับซีพียูคลาเมธนั้น ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการทำงานที่ความเร็วประมาณ 300 MHz เท่านั้น แต่ในการผลิตซีพียูในรุ่นเดสชู๊ตนี้ สามารถรองรับความเร็วได้ถึง 450 MHz ทำให้แคชระดับสองจะต้องทำงานที่ความเร็วสูงถึง 225 MHz

CELERON
ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วย ความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeron สนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )
เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )
ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม


เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino )
ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutes คือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP
ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370
เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz




PENTIUM III
เพนเทียมทรี Pentium III
ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ 3 มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns
ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบ Slot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน
ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai
เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )




ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine
ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น 2 เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC
Pentium 4
เพนเทียมโฟร์ Pentium 4 เป็นรุ่นที่ ค่อนข้างจะมีความเร็วผิดจากที่คาดไว้ และมี Cache น้อย อย่างไรก็ดี ชิปชุดนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการ ออกแบบที่ใหม่ทั้งหมด ระบบไปป์ไลน์ 20 ขั้น ต่อมาได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Intel Pentium Processor ที่จะมาแทนที่ Pentium III จะออกสู่ตลาดด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz 1.5 GHz ภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel NetBurst micro - architecture นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มชุดคำสั่งใหม่ SSE 2 เข้าไปอีก 144 ชุดคำสั่ง
เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นใน Pentium 4
1. Intel NetBurst micro – architecture เป็น สถาปัตยกรรมแบบใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้สามารถ เร่งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาให้ทำงานได้ที่ความถี่สูงๆ และเป็นจุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ ๆอีก หลายอย่าง ที่ช่วยให้ Pentium 4 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Hyper Pipelined Technology เป็น เทคโนโลยีที่ช่วยให้ Pentium 4 สามารถทำงานตามคำสั่งซอฟต์แวร์ใน Pipeline ได้สูงถึง 20 ขั้นตอน รวมถึงการรองรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ความเร็ว 1.5 และ 1.4 GHz
3. Rapid Execution Engine เป็น เทคโนโลยีที่ทำให้ซีพียู Pentium 4 มีความเร็วของบัสระบบ สูงถึง 400 MHz ซึ่งจะช่วยให้ซีพียูสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆเร็ว ขึ้น รวมถึงการรับส่งข้อมูลกับหน่วยความจำ Rambus ก็มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย 4. Streaming SIMD Extensions 2 (SSE2) เป็น เทคโนโลยีชุดคำสั่งพิเศษที่พัฒนาต่อจาก SSE ซึ่งได้บรรจุคำสั่งใหม่เพิ่มเข้าไปอีก 144 คำสั่ง จากคำสั่งที่มีอยู่เดิมใน MMX และ SSE ซึ่ง ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดการกับข้อมูลแบบจำนวนเต็มและทศนิยม อีกทั้งขยายขนาดของ SIMD Integer จากเดิม 64 บิต ที่ใช้กับเทคโนโลยี MMX มาเป็น 128 บิต ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ อัตรากรรคำนวณสำหรับ SIMD Integer เป็น 2 เท่า
5. Execution Trace Cache เป็นตัวถอด รหัสเพื่อแปลความหมายของคำสั่งที่ได้รับจากแรม พร้อมกับจัดเก็บคำสั่งที่ผ่านการถอดรหัสเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ซีพียูมีการเรียกคำสั่งบางคำสั่งที่ อาจซ้ำกับคำสั่งที่มีอยู่ใน Trace Cache ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาถอดรหัสซ้ำอีก
6. Advanced Trace Cache เป็นหน่วย ความจำแคชระดับ 2 ขนาด 256 KB ที่ติดตั้งอยู่บน Die ของแผ่นซิลิกอน ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้มาตั้งแต่ซีพียู Pentium III แล้ว แต่ได้ทากรขยายช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแคชเพิ่มจากเดิมที่มี ขนาด 64 ไบต์ ขณะที่ Pentium 4 มีขนาด 128 ไบต์ ทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่ามาก
7. Advanced Dynamic Execution ซึ่ง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Speculative Execution' ซึ่งเป็น กระบวนการทำงานคำสั่งใดๆ เสร็จเพียงครึ่งทางก่อน แล้วรอดูว่ามีคำสั่งไหนที่ต้องการใช้ใน ขั้นต่อไป โดย Pentium 4 สามารถมองเห็นคำสั่งได้ 126 คำสั่ง ในแต่ละเที่ยว และโหลดคำสั่ง ได้ 48 คำสั่ง และเก็บคำสั่งไว้ใน Pipeline ได้ 24 คำสั่ง ช่วยลดจำนวนโครงข่ายที่เป็นสาเหตุให้ เกิดการทำนายผิดพลาดลง 33 %
8. Enhanced Floating Point/ Multimedia ซี พียู Pentium 4 ได้ขยายส่วนของการคำนวณ Floating Point Register ให้กว้างถึง 128 บิต เพื่อให้การคำนวณเลขทศนิยมมีความรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมด้านมัลติมีเดียได้ดี
Pentuim 4 90 นาโนเมตร
เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 90 นาโนเมตรเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในวงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่อินเทลนำมาใช้เป็นพิเศษสำหรับผลิตชิปบน เวเฟอร์ ขนาด 300 มิลลิเมตร เทคโนโลยีการผลิตใหม่นี้ประกอบด้วยทรานซิลเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและ กินไปต่ำลง สเตรนซิลิคอน( strained silicon ) อินคอนเน็ค ความเร็วสูงที่ทำจากทองแดง( high – speed copper intercon - nects ) และวัสดุใหม่แบบ ( low – k dielectric ) ยังคงมีเทคโนโลยีไฮเปอร์ เธรดดิ่ง ที่ช่วยการทำงานแบบมัลติทาสก์กิ้งอยู่เช่นเดิม และมี คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น Enhanced Intel Micro-architecture แคช L2 มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1 เมกะไบต์ และมีชุดคำสั่งเพิ่มขึ้นอีก 13 ชุด โปรเซสเซอร์ของอินเทลรุ่นต่างๆ ที่มีเทคโนโลยี ไฮเปอร์ เธรดดิ่ง
อ้างอิง http://pirun.ku.ac.th/~b5055141/socket.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

RS-232 คืออะไรและทำงานอย่างไร                   
DB9-male ตัวผู้ 
                        
  DB9-female ตัวภรรยา
RS-232 ย่อมาจาก Recommended Standard-232 (มาตรฐานแนะนำรุ่น 232) เป็นมาตรฐานการเชื่อม
ต่อข้อมูล แบบอนุกรม (Serial Port) กำหนดโดย
EIA (Electronics Industry Association) หรือ สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอเมริกา
ใช้กับการสื่อสารแบบจุดต่อจุด โดยใช้สายเชื่อมต่อ DB แบบ 25 และ 9 เข็ม ที่ไม่ประสานจังหวะระหว่างคอมพิวเตอร์
กับ อุปกรณ์ต่อพ่วง มีการทำงานแบบสองทางพร้อมกัน (Full-duplex) โดยอาจใช้สายสัญญาณอื่นร่วมด้วย เพื่อทำ
แฮนด์เชค (Hand-shake) หรือไม่ก็ได้
ทั้ง นี้มาตรฐาน RS-232 จำกัดความยาวสายไว้ที่ 50 ฟุด (หรือประมาณ 15 เมตร) สำหรับการส่งสัญญาณที่ความเร็ว
19,200 บิทต่อวินาที โดยที่ความยาวสายจะต้องสั้นลงถ้าต้องการสื่อสารที่คว ามเร็วสูงขึ้น

RS-232 มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการที่จะกำหนดมาตรฐานการเชื ่อมต่อระหว่าง คอมพิวเตอร์กับโมเด็มในสมัยนั้น ตัวมาตรฐานจะ
กำหนดสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อ ด้วยกันทั้งหมด 4 หัวข้อหลักๆ ด้วยกันคือ

1. คุณสมบัติทางไฟฟ้าของสัญญาณ
2. คุณสมบัติทางกลของการเชื่อมต่อ ซึ่งหมายถึงตัวคอนเน็กเตอร์นั่นเอง
3. หน้าที่การทำงานของวงจรสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล
4. มาตรฐานการเชื่อมต่อสำหรับระบบสื่อสารเฉพาะอย่าง

ไม่ใช่มีแค่ RS-232 เท่านั้น มาดูกันสิว่า นอกจาก RS-232 ยังมีอะไรให้เราเล่นอีกบ้าง
มาตรฐาน RS-232-C เป็นมาตรฐาน RS-232 ที่มีการปรับปรุงแก้ไขจากมาตรฐานเดิม ซึ่งเราอาจคุ้นเคยกับ
ชื่อนี้มากกว่า RS-232-A หรือ RS-232-B อันที่จริงแล้วยังมีมาตรฐาน RS-232-D ที่ใหม่กว่า RS-232-C
โดยที่มีการเพิ่มข้อกำหนดของคอนเน็กเตอร์แบบ DB เข้าไปด้วย เช่น DB-25 ซึ่งในขณะนั้นสิทธิบัตรของ ตัว
คอนเน็กเตอร์แบบนี้ได้ห มดอายุลงพอดี จึงสามารถรวมข้อกำหนดเข้าไว้ได้

ลักษณะ โดยทั่วไปของการเชื่อมต่อข้อมูลแบบอนุกรมตามมาตรฐาน RS-232 คือเป็นการสื่อสารข้อมูลแบบ
จุดต่อจุด ซึ่งเดิมทีเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กั บโมเด็ม ซึ่งจริงๆแล้วทั้งสองฝั่งจะเป็นอะไรก็ได้
การลื่อสารเป็นแบบสองทางพร้อมกัน (Full-duplex) โดยอาจใช้สายสัญญาณอื่นร่วมเพื่อทำ แฮนด์เชค
(Hand-shake) หรือไม่ก็ได้ มาตรฐาน RS-232 จำกัดความยาวสายไว้ที่ 50 ฟุด (หรือประมาณ 15 เมตร)
สำหรับการส่งสัญญาณที่ความเร็ว 19,200 บิทต่อวินาที โดยที่ความยาวสายจะต้องสั้นลงถ้าต้องการสื่อสารที่
ความเร็วลูงขึ้น และถ้ามีสัญญาณรบกวนมากๆ เช่นในโรงงาน หรือบริเวณใกล้เครื่องจักรที่เป็นแบบมีการสวิทช์
สัญญาณไฟฟ้าที่กระแสสูงๆ ก็จะทำให้ต้องมีการลดความเร็วในการส่งสัญญาณลงหรือใช ้สายที่สั้นลง

มาตรฐาน RS-422 หรือ RS-422-A ถูกกำหนดขึ้นโดยสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
EIA เช่นเดียวกันกับมาตรฐาน RS-232 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาเรื่องความยาวของสายสื ่อสารโดยใช้
การส่ง สัญญาณแบบผลต่าง (Differential) แทนที่จะใช้การส่งสัญญาณแบบอ้างอิงกับจุดกราวนด์ (หรือสายดิน)
เช่นเดียวกันกับ RS-232 การส่งสัญญาณแบบ Differential นี้ช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวนจาก 2 ปัจจัยด้วยกัน
ได้แก่ ปัญหาแรงดันกราวนด์ 2 ฝั่งสายไม่เท่ากัน อันเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลในสายกราวนด์ที่ยาวมากๆ ก่อให้
เกิดความต่างศักดิ์ และปัญหาสัญญาณรบกวนที่เกิดจากมารดาเหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวน ำในสาย โดยหากสายไฟที่ใช้ถูกต
ีเกลียวและวางไว้ใกล้กัน เมื่อมีแรงดันเหนี่ยวนำจะปรากฏแรงดันรบกวนบนสายทั้งส องเท่าๆ กันเป็นผลให้ ตัวรับ
ที่อ่านความต่างศักดิ์ระหว่างสายอ่านข้อมูลได้ เช่นเดิม ทั้งสองปัจจัยนี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้ความต้านทานต่อสัญญาณ
รบกวนของการสื่อ สารแบบ RS-232 ด้อยกว่า RS-422) ตามมาตรฐาน RS-422 นี้จะใช้สายสัญญาณทั้งหมด
4 เส้น (2 เส้นสำหรับการส่งสัญญาณ และอีก 2 เส้นสำหรับรับสัญญาณ) และสามารถใช้ความยาวสายสัญญาณได้ถึง
4,000 ฟุต (หรือ 1.2 กม.) ที่ความเร็ว 100,000 บิทต่อวินาที และการสื่อสารเป็นแบบ 2 ทางพร้อมกัน (Full Duplex)

มาตรฐาน RS-485 กำหนดโดยสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ห รือ EIA เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ
สัญญาณแบบอนุกรม (Serial Communication) มีลักษณะการเชื่อมต่อเป็นแบบหลายจุด (Multi-point) หรือ
Multi-drop สายสัญญาณที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็น 2 สายและแบบที่เป็น 4 สาย การต่อแบบหลายจุดนี้ทำให้สามารถมองสาย
สัญญาณเป็นบัสนำสัญญาณได้ (Signal Bus) จำนวนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่สามารถอยู่บน RS-485 บัสหนึ่งถูกกำหนด
ไว้ที่ 32 ตัว ในกรณีที่ต้องการเพิ่มจะต้องมีตัวทวนสัญญาณ (Signal Repeater) หรือใช้ตัวส่ง-รับสัญญาณที่มีอิมพิแดนซ์
(ความต้านทานเสมือน) สูงขึ้น ซึ่งเราอาจเพิ่มจำนวนจุดเชื่อมต่อขึ้นได้ถึง 128 จุด ความยาวของสายสัญญาณตามมาตรฐาน
RS-485 นี้สามารถยาวได้ถึง 1.2 กม เช่นเดียวกับมาตรฐาน RS-422 แต่การสื่อสารจะเป็นแบบสองทางไม่พร้อมกัน
(Half Duplex) มีเพียงคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ตัวเดียวเท่านั้นที่สา มารถส่งสัญญาณออกได้ ณ เวลาหนึ่งๆ ส่วนที่เหลือจะ
เป็นผู้รับสัญญาณ หรือผู้ฟัง
วิธีใช้งานง่ายๆกับ RS-232c กับบ้างดีกว่าครับ
จะรู้ได้ไง Port RS-232c ที่ติดตั้งบนเครื่อง Computer ทำงานดีอยู่
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า Port RS-232c ที่อยู่บนเครื่องหน้าตาเป็นอย่างไร
ดูหลังเครื่อง Computer ซิครับจะเห็น Jack DB9 ขาตัวผู้(DB9-M)
การตรวจสอบ Port ใน System
ตรวจสอบใน Control Panel ->System ->Device Manager ->Hardware ว่ามี Port RS=232c
ที่ Windows ของเรามองเห็นอยู่ ตรวจสอบมี Port ใน System แต่ Port อาจจะไม่อยากทำงานเราต้อง
ตรวจสอบของจริง (อาจจะลงชื่อไว้แต่ไม่ยอมทำงาน)
วิธีการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ RS-232c ส่งสัญญาณอยู่หรือไม่ ตรวจสอบได้ดังนี้
1.ใช้ Computer รับข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Hyper Terminal ของ Windows
2. ใช้โปรแกรมอื่นๆ เช่น EXPERT COMPORT TEST
3. ใช้หลอด LED กับ R 1 k? (Terminator resistance) เทสที่ขาตัวผู้  DB9-male
1. วิธีการใช้ Hyper Terminal ที่มากับ Windows ตรวจสอบ
Short ขา 2 และ 3 ของ DB9 ของ Port RS-232c Run Program Hyper Termianl โดยเข้าไปที่
Start > Program > Accessories > Communications > Hyper Terminal
ตั้งชื่ออะไรก็ได้ > เลือก Port ที่มีอยู่ใน Windows system
พิมพ์ข้อความบนจอภาพ ถ้า Port ถ้า Port ยังทำงานดีอยู่ข้อความที่ส่งออกทาง TX จะย้อนกลับมาทาง RX
(ที่เรา Short ไว้) ข้อความที่พิมพ์ก็จะแสดงบนจอภาพ แต่ถ้า Port TX หรือ RX เสีย ก็จะไม่ปรากฏข้อความ
ที่พิมพ์บนจอภาพ
2. วิธีการใช้โปรแกรม EXPERT COMPORT TEST
สามารถคลิกดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่นี่ DOWNLOAD
เมื่อดาวน์โหลดโปรแกรม EXPERT COMPORT TEST ไปแล้วให้ทำการแตกไฟล์ออก และทำการ Run Program
โปรแกรมจะ Scan Port RS-232c ที่มีอยู่ในเครื่อง > เลือก Port ที่ต้องการตรวจสอบ กด Send Test เพื่อทดสอบ
ส่งข้อความ EXPERT TECHNOLOGY GROUP ข้อความจะแสดงในช่องข้อมูลที่รับได้ โปรแกรมนี้ยังสามารถตัดข้อมูล
บางส่วนจาก String ที่รับได้มาแสดงผล สามารถตรวจสอบรหัส Ascii ของข้อมูลใน String ที่เราอ่านได้
3. วิธีใช้ LED ต่อกับควมต้านทาน R 1 k โอมห์
หลอด LED จะกระพริบเมื่อมีสัญญาณ (ข้อมูล) ถ้าตั้งค่าไว้ที่ความเร็วต่ำ (Bouad Rate) หลอด LED ก็จะกระพริบช้า
แต่ถ้าหลอด LED ไม่กระพริบเลย (ติดค้าง) แสดงว่า Port RS-232c เสียแน่นอน
สาเหตุที่ทำให้ RS-232 เสียได้
ไฟกระชากที่เกิดจากฟ้าผ่า Surge หรือ Spike มาตามสายไฟ 220Vac หรือเข้าทางสายโทรศัพท์เข้าทาง Modem
เพื่อหาทางลง Ground ขนาดของ Surge มี Volt สูงมากบางครั้งอาจทำให้ Power Supply และ Mainboard ของ
Computer เสียหาย ความต่างศักดิ์ ของ Ground ของ ระบบระหว่างอุปกรณ์ RS-232 ทั้งสองทาง เกิดการไหล ของ
ไฟฟ้าผ่าน IC ของ RS-232c เพื่อลง Ground
วิธีการป้องกันไม่ให้ RS-232 เสียได้ง่าย
ระบบไฟฟ้าต้องเดินสาย Ground ฝัง Ground Rod (แท่งทองแดง) ลงดิน ปลั๊กไฟต้องมี 3 ขา
ก่อนเชื่อมโยงระบบควรตรวจสอบระบบ Ground อุปกรณ์ทุกตัวต้องมีสาย Ground (ลงดิน) จริงๆ
อย่าหักขา Ground ให้ใช้ Meter วัดแรงดันของไฟฟ้าระหว่าง Ground ของ อุปกรณ์ทั้งสองใช้
สายไฟเชื่อมตัวถังของอุปกรณ์ (ที่เป็นโลหะ) ระหว่าง อุปกรณ์ทั้งสองเข้าด้วยกันเพื่อไม่ให้เกิดความ
ต่างศักดิ์ของ Ground เมื่อฝนตกฟ้าคะนองควรดึงสายโทรศัพท์ออกจาก Modem และ ดึงปลั๊กไฟ
ออกระบบไฟฟ้า ใช้อุปกรณ์ Surge Protection อุปกรณ์เหล่านี้จะมี Aresstor และ MOV เพื่อ
By-pass Surge ลง Ground (ระบบทั้งหมดต้องต่อลง Ground ให้เรียบร้อยก่อน)
การเปรียบเทียบกันระหว่าง USB กับ RS-232
ข้อดีข้อเสียของการใช้พอร์ตอนุกรม (serial port) / ขนาน (parallel port)
- พอร์ตขนานเขียนโปรแกรมรับส่งง่าย และส่งข้อมูลได้อัตราความเร็วสูง
- พอร์ตอนุกรมมีจำนวนเส้นสัญญาณน้อยกว่า ทำให้ประหยัดค่าสายต่างๆ มากกว่า แต่ ข้อมูลหนึ่งชุด
  จะต้องเสียเวลาส่งนานขึ้น (เพราะต้องเรียงบิตส่งกันไป)
ปัจจุบันข้อเด่นข้อด้อยดังกล่าวไม่ได้เห็นชัด ทั้งนี้เพราะพอร์ตอนุกรมความเร็วสูงมีแล้ว (USB) ในขณะ
ที่พอร์ตอนุกรมเก่าๆ เองยังต้องมีสายควบคุมมากมาย (acknowledge bus มาก)
ข้อดีของ USB
ระบบ USB นั้นนับว่าเป็นระบบที่ทันสมัย เนื่องจากรองรับอุปกรณ์ได้มากขึ้น และ ง่ายต่อการติดตั้ง มีความ
สามารถรองรับ Plug & Play ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้
สามารถลดข้อจำกัดในการต่ออุปกรณ์พ่วงได้มากขึ้นถึง 127 ชิ้น
ขยายอุปกรณ์มาตรฐานด้วยไดรเวอร์มาตรฐานได้
สามารถจ่ายไฟฟ้าขนาด 5 Volt ให้แก่อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับ USB
• "Hot Swapping" สนับสนุนการต่อ ,ถอดออก และรีเซต อุปกรณ์ที่ติดต่ออยู่โดยไม่ต้อง Reset เครื่อง Computer
สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.5 Mbit/Sec และ 12 Mbit สัญญาณเสียง และสัญญาณภาพ
ลดจำนวนสายเคเบิล ท การเชื่อมต่อนั้นก็ง่ายเนื่องจากสายสัญญาณมีแค่ 4 สายสัญญาณ คือ V+ ,D+, D- และ V-
  โดยสายสัญญาณข้อมูล (D+ และ D-)นั้นจะเป็นแบบ Twist pair
สายเคเบิลนั้นสามารถนั้นสามารถยาวได้ถึง 5 เมตร
มีระบบ Suspend เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงาน
มีการกำหนดค่าตำแหน่งแอดเดรสของ อุปกรณ์ต่างๆ โดยอัตโนมัติ
ที่มาของข้อมูล :
http://guru.google.co.th/guru/thread...148140a1720025
http://expert.com.th.googlepages.com/rs-232cporttest
http://guru.google.co.th/guru/thread...30e87dda6779ad

            serial  คือรูปแบบการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์รูปแบหนึ่งคะ โดยฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน Serial ATA  มีจุดเด่นอยู่ที่สามารถพัฒนา
ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างฮาร์ดดิสก์กับระบบได้สูงกว่ามาตรฐาน E-IDE ที่มีความเร็วจำกัดอยู่ที่ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที ใน
ขณะที่มาตรฐาน Serial ATA มีความเร็วสูงถึง 150 เมกะไบต์ต่อวินาทีคะ  และมีการพัฒนาความเร็วไห้สูงขึ้นอยู่ต่อเนื่องด้วยคะ
ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=160f41f1b9c79e4e

Parallel Port
สำหรับคอมพิวเตอร์แล้วนะคะ Parallel Port หรือที่เรียกว่า พอร์ตคู่ขนาน คือช่องทางการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ
ภายนอก (external connectors) มีลักษณะเป็นพอร์ตตัวเมียที่มี 25 ขา อยู่ด้านหลังเคสคอมพิวเตอร์  เดิมทีเรียกพอร์ตคู่ขนานว่า "พริ้นท์
เตอร์พอร์ต" (Printer Port) เพราะว่ามีการนำพอร์ตขนาน มาใช้งานติดต่อกับเครื่องพรินเตอร์เป็นหลัก  โดยที่พอร์ตขนานนั้นสามารถให้
ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าพอร์ตแบบอนุกรม และยังสามารถส่งข้อมูลขนาน 8 บิตออกไปได้โดยตรงเลยคะ  ก็เปรียบ
เหมือนกับรถยนต์ที่วิ่งบนถนนหลายเลน จะทำให้ไปถึงจุดปลายทางได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
แต่ว่าปัจจุบันแม้จะยังมีอุปกรณ์รองรับพอร์ตคู่ขนานอยู่ แต่ก็พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้ต่อเชื่อมกับเครื่องพิมพ์ขนาดกลางและ
สแกนเนอร์บางรุ่นเท่านั้น  พอร์ตคู่ขนานกลายเป็นพอร์ตรุ่นเก่า ที่ให้ความเร็วในการต่อเชื่อมที่ดีในระดับหนึ่ง เพราะมีการพัฒนาพอร์ต
แบบ USB ขึ้นมาใช้และได้รับความนิยมแพร่หลายกว่า

           หมายเลข port คือเลขฐาน 16 บิต ตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข port แต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดโดยเฉพาะจาก OS (Operating
Systems)
ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควร
เหมาะสำหรับ Service ใด
เช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol
(TFTP)
หมายเลข Port ถูกจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. well known Ports
2. Registered Ports
well known Ports คืออะไร ?
Well Known Ports คือจะเป็น Port ที่ระบบส่วนใหญ่ กำหนดให้ใช้โดย Privileged User (ผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษ) โดย port เหล่านี้ ใช้สำหรับ
การติดต่อระหว่างเครื่องที่มีระบบเวลาที่ยาวนาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ service แก่ผู้ใช้ (ที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย) แปลกหน้า จึงจำเป็นต้อง
กำหนด Port ติดต่อสำหรับ Service นั้นๆ
ที่มา http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=328&Itemid=46

            พอร์ตยูเอสบี (usb port)  คือ ช่องเชื่อมต่อที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับพีซีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลให้รวดเร็ว
ขึ้นคะ ด้วยความเร็วถึง 12 Mbits/s และก็สูงสุดประมาณ 400 Mbits/s บน USB 2.0 นะคะ  นอกจากนี้ USB Port สามารถต่ออุปกรณ์ได้
มากถึง 127 ชิ้น เพราะมีแบนด์วิดธ์ในการรับส่งข้อมูลสูงกว่า และสามารถใช้กับระบบปลั๊กแอนด์เพลย์ (plug and play คือ เมื่อติดตั้ง
อุปกรณ์เข้าไปอุปกรณ์นั้นๆจะสามารถทำงานได้ในระดับหนึ่งเลย) 
พอร์ตยูเอสบีจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สูงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร คะ
ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=55373b71afe82e5e
สิ่งจำเป็นสำหรับการเข้าหัวสาย Lan (สาย UTP / หัว RJ45)
     สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อให้เป็นระบบ Network ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้นสาย UTP CAT 5e หรือ UTP
CAT 6 (ปัจจุบันเริ่มมีการใช้ Lan แบบ ไร้สาย หรือ Wireless Lan กันมาขึ้น เพราะสะดวกและติดตั้งง่ายสวยงามอีกต่างหาก เนื่องจากไม่
ต้องมีสายต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่าสาย Lan นั้นล่ะครับสาย UTP ว่า "การเข้าหัวสาย Lan" ในการเข้าหัวสาย
Lan เราต้องใช้เครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นดังนี้
หัว RJ45
คีมสำหรับตัดสายและย้ำหัว RJ45
ตัวปลอกสาย UTP หากไม่มีใช้มีดคัดเตอร์แทนก็ได้
เครื่องทดสอบสาย LAN จริงๆ มีหลายยี่ห้อมากสำหรับเครื่องที่ใช้ทดสอบสาย UTP แต่ในรูปเป็นของ Fluke คุณสมบัติของรุ่นนี้ก็เช่น
สามารถเช็คความยาวสาย ได้ทั้งแบบเมตรและฟุต Ping,test ไปยัง IP ที่ต้องการได้,กำหนด IP ให้ตัวเองได้ทั้งแบบ Static และ DHCP
สาย UTP (สาย Lan) ภายในสาย UTP เมื่อเราปลอกเปลือกที่หุ้มสายออกแล้วเราจะพบว่ามีสายเล็กๆ อยู่อีก 4 คู่ (8 เส้น) คือ
·    ขาวส้ม - ส้ม
·    ขาวเขียว - เขียว
·    ขาวน้ำเงิน - น้ำเงิน
·    ขาวน้ำตาล - น้ำตาล
ที่มา  http://www.wirelink.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=68:-lan-utp-rj45&catid=31:general&Itemid=53

นางสาวนุชนภา  ผลสง่า  เลขที่  13